Marie Curie,มารี คูรี

มารี คูรี่ “ผู้ค้นพบแร่เรเดียม” นักวิทยาศาสตร์ที่รักการค้นคว้ายิ่งกว่าชีวิตของตัวเอง และเสียชีวิตลงด้วยรังสีของแร่เรเดียม ซึ่งเธอได้คลุกคลีกับมาเป็นเวลานาน แร่เรเดียมที่นับได้ว่าช่วยเหลือคนรอดชีวิตมาเป็นจำนวนมาก กลับทำลายชีวิตของเธอเองอย่างน่าเสียดาย

เธอเกิดในประเทศโปแลนด์ เมื่อปี ค.ศ. 1867 เป็นบุตรีของศาสตราจารย์วลาดิสลาฟ สโคลโดว์สกา ซึ่งเป็นอาจารย์สอนวิทยาศาสตร์และคำนวณ ซึ่งเธอได้รับการถ่ายทอดวิชาวิทยาศาสตร์จากบิดามาตั้งแต่เด็ก มารีสนใจในวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์กายภาพมาก จึงได้เดินทางไปศึกษายังมหาวิทยาลัยซอร์บอน ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส

เมื่ออายุได้ 27 ปี เธอได้รู้จักกับปีแอร์ คูรี่ นักฟิสิกส์และเคมีชาวฝรั่งเศส และได้แต่งงานกันเมื่อปี 1895 ซึ่งปีแอร์มีส่วนช่วยในการค้นพบครั้งสำคัญนี้เป็นอย่างมาก มารีและสามี ได้ทำการทดลองค้นคว้าอย่างไม่หยุดยั้ง เธอแยกธาตุออกจากแร่พิทช์แเบลนด์ได้เป็นส่วนย่อย จนกระทั่งพบธาตุใหม่อีกธาตุหนึ่ง ในขั้นแรกเธอให้ชื่อว่า โปโลเนียม(Polonium) ซึ่งมีคุณสมบัติทางกัมมันตภาพรังสีอยู่มาก จนต่อมาเธอตัดสินใจเรียกธาตุใหม่นี้ว่า เรเดียม(Radium) ซึ่งมีคุณสมบัติสูงกว่ายูเรเนียมถึง 2 ล้าน 5 แสนเท่า เรเดียมสามารถแยกก๊าซหรืออากาศได้ และทำให้เกิดแสงเรือง มีพลังความร้อน ซ้ำยังเป็นโลหะที่มีอานุภาพทำลายชีวิตมนุษย์ได้อีกด้วย

ปิแอร์และมารี คูรี่ ได้รับการยกย่องในผลสำเร็จครั้งนี้อย่างมาก แม้แต่ในต่างประเทศ เช่น สมาคมวิทยาศาสตร์ในพระบรมราชูปถัมภ์ของอังกฤษ ได้มอบเหรียญเดวี่ให้เป็นเกียรติแก่บุคคลทั้งคู่ มารี คูรี่ ได้รับรางวัลโนเบล สาขาเคมี ในปี 1911

ในขณะที่บุคคลทั้งสองกำลังรุ่งโรจน์อยู่นั้น เหตุร้ายก็เกิดขึ้นในตอนเช้าของวันที่ 19 เมษายน 1906 ปีแอร์ คูรี่ สามีของเธอก็ประสบอุปัทวเหตุ และถึงแก่กรรมตายทันที ยังความเศร้าสลดใจมาให้แก่มารี คูรี่ อย่างสุดซึ้ง และเกือบจะทำให้เธอยอมทอดทิ้งผลงานต่างๆ ที่ทำค้างไว้ทั้งสิ้น แต่ในไม่ช้าเธอก็หวนกลับมาสู้การค้นคว้าผลงานของเธอต่อไป

ในปี ค.ศ.1934 มารี คูรี่ ก็ล้มเจ็บลง ด้วยลักษณะอาการของคนที่อ่อนเพลีย หมดแรงลงอย่างรวดเร็ว และถึงแก่กรรมในเช้าวันที่ 4 กรกฎาคม 1934 แพทย์ตรวจพบภายหลังว่า กระดูกสันหลังของเธอถูกทำลายด้วยรังสีของแร่เรเดียม ซึ่งเธอได้คลุกคลีกับมันมาเป็นเวลานาน แร่เรเดียมที่นับได้ว่า ได้ช่วยคนรอดชีวิตมาเป็นจำนวนมากนั้น กลับทำลายชีวิตของเธออย่างน่าเสียดาย

Leave a comment